จัดทำหรือดัดแปลงบริเวณที่จะฝังให้เป็นที่รองรับ จัดวางบนด้านหรือโลหะของตัวเรือนตามรูปแบบ
โอกาสในการมีงานทำ / ความต้องการของตลาด / แนวโน้มความต้องการตลาด
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีการขยายตัวค่อนข้างมาก ซึ่งประกอบด้วยโรงงานเจียระไนเพชร พลอย ผลิตเครื่องประดับทอง ทองคําขาวและเงิน และมีศูนย์กลางการผลิตและส่งออกเพชร อัญมณีและเครื่องประดับของประเทศ และมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเครื่องประดับ ทําหน้าที่วิเคราะห์อัญมณีด้วย นอกจากนี้รัฐบาลได้มีโครงการ กรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น เพื่อให้ไทยเป็นส่วนหนึ่งของโลกแห่งการดีไซน์และแฟชั่น ซึ่งจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมนี้มีปัจจัยสนับสนุน ซึ่งจะยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมาก เพราะฉะนั้นแนวโน้มความต้องการผู้ประกอบอาชีพนี้จะอยู่ในระดับสูง
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
- สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณีหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือสําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาช่างแม่พิมพ์อัญมณี หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือผ่านการอบรมกลุ่มงานอาชีพช่างฝัง จากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน หรือจากสถานฝึกอาชีพต่าง ๆ และ มีความรู้ความสามารถอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง อดทน ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคในงานอาชีพ
- สายตาดี
- มีความรับผิดชอบ
- ละเอียด ประณีต ถูกต้องแม่นยํา
- มีความรู้ในงาน และการใช้เครื่องมือช่างเป็นอย่างดี