ทำการสอนในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา สอนในเรื่องของโลจิสติกส์
โอกาสการมีงานทำ / ความต้องการของตลาด / แนวโน้มความต้องการตลาด
ปัจจุบันได้มีการตื่นตัวกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยเห็นว่าเป็นเครื่องมือสําคัญของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือจะมีส่วนช่วยในการปรับปรุงความสามารถในการดําเนินธุรกิจของภาคเอกชน รวมถึงการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม และส่งผลดีต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แต่ในปัจจุบันประเทศไทยประสบกับปัญหาขาดแคลนอาจารย์ผู้สอนที่มีความรู้ และมีประสบการณ์โดยตรงทางด้านโลจิสติกส์ในการที่จะผลิตกําลังคนหรือบุคลากรด้านโลจิสติกส์ให้เพียงพอและมีคุณภาพตอบสนองทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณต่อตลาดแรงงานหรือสถานประกอบการ ฉะนั้นอาชีพอาจารย์สอนโลจิสติกส์จึงเป็นอาชีพที่ขาดแคลน (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหํงชาติ, 2549) และเป็นที่ต้องการของสถานศึกษา
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
- กรณีเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา อาจารย์ผู้สอนสําเร็จการศึกษาด้านการขนส่งด้านโลจิสติกส์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการขนส่ง หรือกฎหมายเกี่ยวกับโลจิสติกส์คลังสินค้า
- กรณีของอาจารย์พิเศษ ควรมีประสบการณ์การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจในระบบการบริหารคลังสินค้า หรือการขนส่งสินค้า เป็นอย่างดี
- ควรมีประสบการณ์ความรู้ทางด้านการจัดซื้อจัดจ้าง การขนส่ง หรือเคยทํางานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งมีความเสียสละ มีเหตุมีผล
- สามารถใช้เหตุผลในการแสดงความคิดเห็นอย่างมีขั้นตอน มีระเบียบชัดเจนและรัดกุม
- มนุษยสัมพันธ์ดี
- รักงานสอน มีความรัก และเมตตาต่อลูกศิษย์
- ควรมีโลกทัศน์กว้างไกล
- สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์